ย้อนกลับ
หน้าแรก
หน้าต่อไป
เมื่อดำเนินการปฏิบัติจริง

ในที่สุด โรงเรียน ก็เลือก ทางเลือกที่สอง โดยได้ทำหนังสือ ร้องเรียน ขอความเป็นธรรม และได้เข้าพบ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายวิชัย ตันสิริ ในวันที่ 24 กันยายน 2542 ซึ่งนายวิชัย ให้ข้อสรุป แก่โรงเรียนว่า ข้อเรียกร้องตัวตัวแทนครูดังกล่าว สามารถทำได้ หากกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ทราบว่า ทางโรงเรียนไม่มีการจ่ายเงินเดือนจริง และหากนักเรียน ทำหนังสือ สละสิทธิ์ ที่จะได้รับเงินอุดหนุน รายหัว จากรัฐบาล และครูทั้ง 32 คน (ที่มีอยู่ในปัจจุบัน) รวมทั้งทายาท และบิดามารดาของครู ทำให้หนังสือ ลงชื่อ เป็นลายลักษณ์อักษร จะไม่รับสวัสดิการ จากกองทุนสงเคราะห์ ทางกระทรวง จึงต้องการให้ โรงเรียน ดำเนินการในส่วนนี้ เพื่อจะได้ อนุโลมการบังคับใช้มาตรา 69

หลังจาก เข้าพบรัฐมนตรีแล้ว ทางโรงเรียน มีการประชุม ผู้เกี่ยวข้องอีกหลายครั้ง ในที่สุด ก็มีความเห็นว่า การที่ ศธ. ต้องการให้ครู ทายาท และบิดามารดาของครู ลงชื่อ เป็นลายลักษณ์อักษร สละสิทธิ์ จากความช่วยเหลือของ กองทุนสงเคราะห์ หรือให้ นักเรียน สละสิทธิ์ จากเงินอุดหนุนนั้น รัฐน่าจะมีทางออก ที่ดีกว่านี้ ที่เป็นไปตามเจตนารมณ์ แห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญ

เพราะปัญหานั้นอยู่ที่ว่า รัฐยังไม่มีกฎหมายรองรับ สำหรับครู ที่ต้องการทำงาน โดยไม่รับเงินเดือนตอบแทน หรือกฎหมาย ที่มีอยู่ ก็ปิดกั้นโอกาส ไม่ให้บุคคลเหล่านี้ ทำงานชนิดเต็มใจเสียสละ ให้แก่สังคมได้ หรือการตีความ กฎหมาย ที่มีอยู่นั้น ไม่สามารถ จัดการศึกษา ด้วยระบบ ที่ครูไม่ขอรับเงินเดือนได้

ปัญหาไม่น่าจะได้รับการแก้ไข ด้วยการปรับการบริหาร จัดการศึกษา ให้ไปสู่ข้อกฎหมาย ที่มีอยู่ เพราะหากแน่ชัดว่า ภาคปฏิบัติจริง ของการบริหาร จัดการศึกษาที่พบใหม่นั้นดีกว่า เพราะระเบียบซ่อมเปลี่ยนแปลงได้ ตามความเห็น เหมาะควร ในการจัดการศึกษา ของผู้มีอำนาจบริการระเบียบ

ในส่วนเหตุผล ขงอความถูกต้องแล้ว โรงเรียนไม่ปรารถนา ที่จะสนับสนุน ให้มีวัฒนธรรม ในสังคม ที่ไม่ถูกสัจธรรมได้ เพราะหากโรงเรียน ปฏิบัติดังกล่าว ก็จะเป็นตัวอย่าง ในสังคมว่า ปลายทางของ ผู้พยายามเสียสละ ทำงานโดยไม่รับเงินเดือนนั้น คือ การที่จะต้องปฏิเสธว่า ไม่ขอรับเงินอุดหนุน หรือสงเคราะห์จากรัฐ

ความรู้สึกที่แท้จริงแล้ว ทั้งครู และโรงเรียน มิได้คาดหวัง หรือ ไม่คาดหวัง ว่าจะได้รับการสงเคราะห์ จากทางรัฐหรือไม่ เพราะที่ผ่านมา โรงเรียน พยายาม จัดการศึกษา ด้วยระบบพึ่งตนเอง ดำเนินการตามเงินทุน และกำลัง ความสามารถ ที่จะเป็นไปได้ อีกทั้งโรงเรียน ย่อมต้องปฎิบัติตาม และวางใจในกลไกทางสังคม ที่มีอยู่จริง และพร้อมรับด้วยว่า สิทธิที่บุคคลใดจะได้รับ หรือไม่ได้รับนั้น ย่อมต้องเป็นไปตามบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว

โรงเรียน ไม่อาจละเมิด "เสรีภาพ" ส่วนบุคคล ที่จะให้นักเรียน ครู รวมทั้งทายาท และบิดา มารดา ของครู มาลงชื่อ เป็นลายลักษณ์อักษร ปฏิเสธ "สิทธิ" ที่เขาอาจจะพึงได้รับ ตามกฎหมายได้

ด้วยเหตุนี้ โรงเรียน จึงระงับการดำเนินการดังกล่าวไว้ก่อน และพยายามปฏิบัติ หน้าที่ของโรงเรียน ในการจัดการศึกษา ระบบบุญนิยม ให้ดีที่สุด รอเพียง ความเคลื่อนไหว ของทางกระทรวง ต่อเรื่องดังกล่าวต่อไป

 
ความรู้สึก


โรงเรียน เข้าใจเป็นอย่างดี ต่อเจตจำนงของกฎหมาย ที่ต้องการสร้างระบบ กลไก ของกองทุนสงเคราะห์ เพื่อดูแลคุ้มครอง ครูที่ทำงานให้แก่รัฐ และสังคมทุกคน ให้ได้รับสวัสดิการ อย่างเป็นธรรม และป้องกัน มิให้ได้รับการเอาเปรียบ จากกลไกการศึกษา ของบางกลุ่ม ซึ่งออกจเกิดขึ้นได้ และโรงเรียน ไม่อาจปฏิเสธเช่นกันว่า ระบบการให้เงินอุดหนุน ของรัฐ แก่ทุกโรงเรียนนั้น เป็นเจตนารมณ์ ของกฎหมาย ที่ควรได้รับการสนับสนุน

ซึ่งในกรณีนี้ หน่วยงานของรัฐ ก็พยายามดูแล ช่วยเหลือให้เงินอุดหนุน และสงเคราะห์ครู และโรงเรียนต่างๆ ในสังคมส่วนรวม มาโดยตลอด แม้ว่า ครู และโรงเรียนทั่วไป จะมีรายได้ จากส่วนอื่นๆ อยู่แล้ว

แต่สำหรับโรงเรียน สัมมาสิกขาสันติอโศก ซึ่งก็เป็นอีกโรงเรียนหนึ่ง ที่พยายาม จัดการศึกษา เช่นกัน และโรงเรียนก็เชื่อมั่นในเป้าหมาย และทิศทาง ของการจัดการศึกษา ในระบบบุญนิยม ดำเนินการอบรม ดูแล นักเรียน พร้อมๆ ไปกับความพยายาม พึ่งตนเอง ให้สามารถจัดการศึกษาได้ ด้วยเงินทุนของโรงเรียน มีเพียง มูลนิธิธรรมสันติ เท่านั้น ที่ให้การสนับสนุน และครู ก็เต็มใจ ไม่รับรายได้เป็นเงิน ไม่ว่าในรูปใด จากมูลนิธิ เป็นการตอบแทน กลับไม่ได้รับการอุดหนุนใดๆ จากรัฐ แต่ต้องถูกตัดออก ให้ปลึกเร้น จากสังคมส่วนใหญ่ ด้วยการให้เขียน เป็นลายลักษณ์อักษร และเซ็นชื่อ ปฏิเสธการสงเคราะห์ใดๆ จากทางรัฐอีกหรือ และครูก็ดี เจ้าของโรงเรียนก็ดี ผิดกฎหมาย ตามมาตรา 69 จริงๆ หรือที่ความจริง ครูทั้งหมด เขาเต็มใจ รับเงินเดือน คนละศูนย์บาท ดังนั้น ไม่ว่า จะหัก หรือเพิ่มเงิน ที่คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ เท่าใดก็ตาม จากศูนย์ยาท มันก็ย่อมเท่ากับศูนย์บาท เขาก็ย่อมไม่มีส่ง หากจะส่ง ก็ส่งศูนย์บาทในกรณีนี้

น่าคิดไหมว่า ครูผู้ทำการสอนอยู่ทั่วๆ ไป แล้วรับค่าแรงงาน ที่สอนนั้น เต็มอัตราเงินเดือน รัฐเห็นเป็นความดี ที่ครูได้ช่วยรัฐ สร้างเยาวชน ให้แก่รัฐ รัฐก็หาวิธีเพิ่มการสงเคราะห์ ให้อีก ทั้งเงิน ทั้งสวัสดิการ และเอื้อไปถึงญาติบางระดับ ส่วนครู ผู้ทำการสอน ที่ตั้งใจ ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ มักน้อย สันโดษ ขยัน เสียสละ ทั้งเต็มใจ เสียสละแรงงาน ไม่รับค่าสอน ซึ่งก็ช่วยสร้างเยาวชน ให้แก่รัฐเช่นกัน แต่รัฐกลับหาวิธีเพื่อตัดสิทธิ์ ทั้งนักเรียน ก็ไม่ให้เงินอุดหนุน ทางการศึกษา และครู ก็ไม่ให้รับการสงเคราะห์ใดๆ แม้กระทั่งญาติ

รัฐไม่ต้องการ คนสร้างสรร เสียสละ ให้มีในประเทศบ้างเลยหรือ?

ทั้งๆ ที่โรงเรียน ชัดเจนในเป้าหมาย การศึกษาดีว่า การสร้างคนนั้น ต้องให้เขามีชีวิต ที่ดีงาม เป็นปกติสุข สามารถพึ่งตนเอง ขยัน มีคุณธรรม ความสามารถ เสียสละ ไม่เห็นแก่ได้ ไม่เห็นแก่ตัว และอยู่ร่วมกัน ในสังคมได้ อย่างมีประโยชน์คุ้มค่า

ขอเพียงโอกาส ให้ครู ผู้เต็มใจ ทำงานด้วยความภูมิใจ และนักเรียน ที่พร้อม จะศึกษา ช่วยกันสร้าง "ชุมชนการศึกษา แบบพุทธ" ให้เกิดขึ้น เท่านั้นเอง

 
ย้อนกลับ
หน้าแรก
หน้าต่อไป